โครงการ “ผ้าทออีสาน : จากวัฒนธรรมท้องถิ่นสู่การเพิ่มมูลค่าเชิงพาณิชย์ในตลาดมุสลิม”

เกริ่นนำ

การทอผ้าในอีสานนับเป็นมรดกทางภูมิปัญญาที่แสดงออกถึงความเจริญรุ่งเรืองทางด้านงานศิลปะและวัฒนธรรมท้องถิ่นอันเป็นเอกลักษณ์เฉพาะตน เกิดเป็นผ้าทอมือที่มีลวดลายวิจิตรงดงาม สอดแทรกเรื่องราวทางความเชื่อ ความศรัทธา ตลอดจนความรักความสามัคคีของคนในชุมชนและท้องถิ่นนั้นๆ พัฒนาให้เกิดรูปร่าง รูปทรงด้วยจินตนาการและสร้างสรรค์งานผ้า ผ่านกระบวนการทอ เย็บ ปัก การทับซ้อนผ้า เกิดมุมมองและรูปทรงที่น่าสนใจ (พรรษชล แข็งขัน, 2560)

ทั้งนี้หากมีการส่งเสริม และพัฒนาเพื่อเพิ่มความหลากหลายของลวดลายบนผืนผ้า ผ่านการนำเอาศิลปะอิสลาม (Islamic Art) มาประยุกต์ใช้ อาจเป็นหนึ่งทางเลือกในการเปิดตลาดผ้าทออีสาน สู่ตลาดและกลุ่มคู่ค้าตลาดมุสลิมทั้งในประเทศไทยและกลุ่มประเทศอาเซียน ซึ่งมิใช่เพียงแค่เป็นการเปิดตลาดผ้าทออีสาน หากแต่เป็นการแสดงออกซึ่งอัตลักษณ์ร่วมทางวัฒนธรรมและการอยู่ร่วมกันบนความหลากหลายที่สามารถแสวงหาจุดร่วมได้อย่างสวยงามทั้งศาสตร์และศิลป์

คณะทำงานได้เล็งเห็นถึงโอกาสและมูลค่าทางเศรษฐกิจจากความงดงามของการผสมผสานมรดกแห่งภูมิปัญญาของสองวัฒนธรรม นั่นคือ วัฒนธรรมพื้นถิ่นอีสาน และวัฒนธรรมจากศิลปะอิสลาม ที่ผสมกลมกลืนผ่านลวดลายที่วิจิตรงดงามลงบนผืนผ้า ซึ่งนอกจากความงดงามของอัตลักษณ์ร่วมระหว่างสองวัฒนธรรมแล้ว โอกาสในการสร้างรายได้และการเพิ่มมูลค่าเชิงพาณิชย์ในตลาดมุสลิม ยังเป็นช่องทางในการสร้างความมั่งคั่งให้กับประชาชนและความมั่นคงของประชาชนในท้องถิ่นได้อีกด้วย


วัตถุประสงค์โครงการ

1. เพื่อศึกษาแหล่งที่มาของผ้าทออีสานอันเป็นภูมิปัญญาท้องถิ่น รวบรวมแหล่งข้อมูลตั้งแต่ต้นน้ำ กลางน้ำ และปลายน้ำ ของกระบวนการผลิตผ้าทออีสาน รวมถึงสำรวจแหล่งทอผ้าอีสานพื้นถิ่นที่มีในเขตภาคอีสานตอนกลางและภาคอีสานตอนบน

2. เพื่อส่งเสริมและพัฒนาความหลากหลายของการออกแบบลวดลายบนผืนผ้าทอ โดยการประยุกต์ศิลปะอิสลาม (Islamic Art) มาใช้ในลายผ้าทอ เพิ่มโอกาสทางการตลาดและกลุ่มคู่ค้าใหม่ในตลาดมุสลิมทั้งในประเทศและกลุ่มประเทศอาเซียน โดยพัฒนาช่องทางการตลาดผ่านสื่อโซเชียมีเดียที่หลากหลาย

3. เพื่อผลิตสื่อที่ส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพภูมิปัญญาท้องถิ่น (ชุดคลิปวีดีโอ) ในการสร้างรับรู้ทุกกระบวนการในการผลิตผ้าทออีสาน ซึ่งเป็นมรดกทางวัฒนธรรมอันทรงคุณค่า สู่การเพิ่มมูลค่าเชิงพาณิชย์ในตลาดมุสลิม ผ่านนิเวศสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์

4. เพื่อผลลัพธ์ในการอยู่ร่วมกันบนความหลากหลายอย่างเกื้อกูล ผ่านการผนวกวัฒนธรรมร่วมกัน (ศิลปะอิสลาม) เกิดเป็นความงดงามในการอยู่ร่วมกันอย่างเกื้อกูล และยอมรับในความต่างทางวัฒนธรรมที่สามารถแสวงหาจุดร่วมได้อย่างสวยงามทั้งศาสตร์และศิลป์

กิจกรรมในโครงการ

  1. ศึกษา รวบรวมข้อมูลและแหล่งที่มาของผ้าทออีสานอันเป็นภูมิปัญญาท้องถิ่น ตั้งแต่ต้นน้ำ กลางน้ำ และปลายน้ำ ของกระบวนการผลิตผ้าทออีสาน รวมถึงสำรวจแหล่งทอผ้าอีสานพื้นถิ่นที่มีในเขตภาคอีสานตอนกลางและภาคอีสานตอนบน
  2. ส่งเสริมและพัฒนาผู้ประกอบการทอผ้า สู่การประยุกต์ลวดลาย ศิลปะอิสลาม (Islamic Art) มาใช้ในลายผ้าทอ เพิ่มโอกาสทางการตลาดและกลุ่มคู่ค้าใหม่ในตลาดมุสลิมและอาเซียน (กลุ่มผู้ประกอบการผ้าทอในเขตภาคอีสานตอนกลางและตอนบน)
  3. จัดทำสื่อ (ชุดคลิปวีดีโอ) เพื่อนำเสนอคุณค่าและความงดงามของผ้าทอมืออีสาน และการผสมผสานระหว่างวัฒนธรรม ตั้งแต่ต้นน้ำ กลางน้ำ และปลายน้ำ สู่การเพิ่มมูลค่าเชิงพาณิชย์ในตลาดมุสลิม (แผนการตลาดออนไลน์)
  4. งานมหกรรม/นิทรรศการ “หัตถศิลป์ผ้าทออีสาน คุณค่าทางวัฒนธรรม นำสู่มูลค่าในอาเซียน
  5. นำเสนอผลงานในรูปแบบเอกสารรายงานฉบับสมบูรณ์

ผลการดำเนินงานโครงการ

ข้อมูลและแหล่งที่มาของผ้าทออีสานอันเป็นภูมิปัญญาท้องถิ่น ในเขตภาคอีสานตอนกลางและภาคอีสานตอนบน (อุดรธานี สกลนคร ขอนแก่น กาฬสินธุ์และหนองคาย)

การฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการเพื่อส่งเสริมและพัฒนาผู้ประกอบการทอผ้า สู่การประยุกต์ลวดลาย ศิลปะอิสลาม (Islamic Art) มาใช้ในลายผ้าทอ เพิ่มโอกาสทางการตลาดและองค์ความรู้ด้านการตลาดดิจิทัล

การจัดทำสื่อ (ชุดคลิปวีดีโอ) เพื่อนำเสนอคุณค่าและความงดงามของผ้าทอมืออีสาน และการผสมผสานระหว่างวัฒนธรรม ตั้งแต่ต้นน้ำ กลางน้ำ และปลายน้ำ สู่การเพิ่มมูลค่าเชิงพาณิชย์ในตลาดมุสลิม (แผนการตลาดออนไลน์)


คณะทำงานโครงการ

ที่ปรึกษาโครงการ

รศ.ดร.ปกรณ์ ปรียากร
ผู้อำนวยการ สถาบันมาตรฐานฮาลาลแห่งประเทศไทย
ดร.พรภัทรา จำเริญ
มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี

หัวหน้าโครงการ

อ.สุวัยบ๊ะห์ ประพฤติชอบ
นักวิจัยอิสระ

คณะทำงานโครงการ

ผศ.มธาวี ยีมิน
ผู้จัดการศูนย์บ่มเพาะวิสาหกิจ มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร
วิทยากร อิสมาแอล
บรรณาธิการบริหาร Halal Life Magazine

โครงการ “ผ้าทออีสาน : จากวัฒนธรรมท้องถิ่นสู่การเพิ่มมูลค่าเชิงพาณิชย์ในตลาดมุสลิม”

สนับสนุนโดย กองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ ปีงบประมาณ 2564