หน้าแรก

แรงบันดาลใจจากภูมิปัญญา สู่ความ “เลอค่า”

เมื่อศิลปะจากสองวัฒนธรรม…มาบรรจบพบอัตลักษณ์ใหม่

จากความเหมือนและความต่างของสองวัฒนธรรม สู่การพัฒนางานศิลปะร่วมสมัยที่ผสานอัตลักษณ์งานศิลป์ของวัฒนธรรมพื้นถิ่นอีสานและวัฒนธรรมอิสลาม จนมาพบจุดบรรจบความงดงามผ่านลวดลายใหม่ที่วิจิตรบรรจงถักทอบนผืนผ้าด้วยภูมิปัญญาที่ส่งต่อจากบรรพชนรุ่นต่อรุ่น

ลวดลายท้องถิ่นอีสาน

อัตลักษณ์ภูมิปัญญาจากบรรพชน

ศิลปะอิสลาม

จากแรงศรัทธาสู่การรังสรรค์ผลงานศิลปะร่วมสมัย

ร้อยเรื่องราวอัศจรรย์ สีสันภูมิปัญญาของคนรักษ์โลก

สีคราม The King of Dyes

ผ้าย้อมคราม หนึ่งในภูมิปัญญาอันชาญฉลาดของบรรพชนไทยในการแต่งแต้มสีสันให้กับเส้นใยฝ้าย จากพืชที่ให้สีครามสกุล Indigofera tinctoria Linn.

ดอกบัวแดง ที่เปลี่ยนไป

ดอกบัวแดงสีชมพูสด สามารถเปลี่ยนเป็นสีสันบนเส้นฝ้ายและเส้นไหมได้อย่างงดงามและน่าประหลาดใจ ซึ่งสีสันที่ได้นั้นไม่ใช่สีชมพูอย่างที่เราคาดคิด หากแต่เป็นสีทองและสีเงิน

แม่หญิงต้องต่ำหูก

ร้อยเรื่องราวการส่งต่อภูมิปัญญาการทอผ้าของคนอีสาน

ยามว่างจากงานในนา ผู้หญิงทอผ้า ผู้ชายจักสาน

ในอดีตการทอผ้าหรือคนอีสาน-ลาว เรียกว่า “ต่ำหูก” ซึ่งในสังคมของคนในลุ่มน้ำโขงโดยเฉพาะในภาคอีสาน และในสปป.ลาว ได้มอบหมายหน้าที่อันสำคัญยิ่งนี้ให้เป็นหน้าที่ของลูกผู้หญิงทุกคน ถือว่าเป็นงานที่ลูกผู้หญิงทุกคนต้องเรียนรู้จากคนในครอบครัวซึ่งก็คือ แม่ โดยที่แม่ก็ได้รับการถ่ายทอด ฝึกฝนมาจากยาย จากย่าเป็นทอดๆ กันไปอย่างนี้มาหลายรุ่น เป็นการฝึกสอนโดยไม่มีการจดบันทึกหรือแบบแผนที่ชัดเจนแต่เป็นการฝึกจากการเรียนรู้ลองผิดลองถูกและลงมือปฏิบัติต่อเนื่องเป็นเวลานานจนเกิดความชำนาญ ส่วนผู้ชายได้รับมอบหน้าที่ในการหาอาหาร สร้างที่อยู่อาศัย ดังนั้นในสังคมของคนในยุคก่อนจึงได้ถูกแบ่งหน้าที่กันอย่างชัดเจน 

ดังมีคำกล่าวว่า

“แม่หญิง ต้อง ต่ำหูก”

หมายถึง ผู้หญิงในสังคมอีสาน-ลาว ต้องทอผ้าเป็นและเป็นการทอผ้าที่มีความสวยงาม วิจิตรบรรจง เพราะจะกลายเป็นเอกลักษณ์และเป็นสมบัติอันล้ำค่าของครอบครัววงศ์ตระกูลต่อไป

LE’KANIS

แรงบันดาลใจจากภูมิปัญญาสู่ความ “เลอค่า”

ให้ผืนผ้าเป็นดั่งสะพานเชื่อมระหว่างคนสองวัฒนธรรม

LE’KANIS

สนใจสินค้าแบรนด์ เลอ’คานิส

โครงการ “ผ้าทออีสาน : จากวัฒนธรรมท้องถิ่นสู่การเพิ่มมูลค่าเชิงพาณิชย์ในตลาดมุสลิม”

สนับสนุนโดย กองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ ปีงบประมาณ 2564